RMUTTO

การพัฒนาชุมชนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจชุมชนอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวคิดของ BCG

ชุมชนแก่งหางแมว หมู่ 4 บ้านลานทอง ตำบลเขาวงกต อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลโครงการเบื้องต้น

การพัฒนาชุมชนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาเศรษกิจพอเพียงของวิสาหกิจชุมชนอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวคิดของ BCG นี้มีจุดเริ่มจากการที่ทีมนักวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะกับตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพบว่ากลุ่มวิสาหกิจดังกล่าวได้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวในการพัฒนาชุมชนด้วยต้นทุนทางทรัพยากรที่อยู่ในชุมชน วัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณี ฯลฯ มีกระบวนการพัฒนาอาชีพที่เน้นการพึ่งพาตนเองจากทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าอย่างสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก มีการสร้างสถานที่เพื่อแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกป่าและพืชสมุนไพร การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การผลิตสินค้าทางการเกษตรแบบอินทรีย์ การแปรรูปสมุนไพร เลี้ยงสัตว์ การผลิตปุ๋ย เป็นต้น กระบวนการในการดำเนินงานวิจัยเป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยจะเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนและนวัตกรรมการจัดการที่จะนำไปสู่การลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต การตรวจสอบคุณภาพของผลผลิตเพื่อยกระดับมาตรฐาน การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อการบริหารจัดการและสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีคุณภาพในรูปแบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบของการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนากระบวนการและประสิทธิภาพในการผลิต และเพื่อเป็นแนวทางขยายผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับชุมชนอื่น ๆ ของประเทศสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

ระดับประเมินศักยภาพในการพัฒนาชุมชน : ต่ำ (SILVER)
ผลการประเมินพื้นที่ชุมชนต้นแบบ
เกณฑ์การประเมินที่ตั้งของหมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ในกลุ่มพื้นที่เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัย
หมู่บ้าน/ชุมชนที่สอดคล้องกับเงื่อนไขการส่งเสริมพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP)
หมู่บ้าน/ชุมชนที่มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ไปประยุกต์ใช้จนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
หมู่บ้าน/ชุมชนมีความพร้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มิติความพร้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แผนการยกระดับชุมชน
ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (BioEconomy)
  • SDG 6 SDG 7 SDG 12
เศรษฐกิจหมุนเวียน(CircularEconomy)
  • SDG 6 SDG 7 SDG 12
เศรษฐกิจสีเขียว(GreenEconomy)
  • SDG 6 SDG 7 SDG 12
การรายงานผลการดำเนินงานในแต่กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีด้านและนวัตกรรม (การพัฒนาระบบควบคุมปั๊มน้ำด้วย IoT)100%
100%
กิจกรรมที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการข้อมูลสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน100%
100%
กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีด้านและนวัตกรรม (การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักในโรงเรือนด้วยแสงประดิษฐ์)100%
100%
กิจกรรมที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรอินทรีย์100%
100%
กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีด้านและนวัตกรรม (การพัฒนาระบบควบคุมโรงตากสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์)100%
100%
กิจกรรมที่ 6 การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับโรงเรือนและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สมุนไพร100%
100%
กิจกรรมที่ 7 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตสมุนไพร100%
100%
การรายงานผลการยกระดับพื้นที่
ด้านรายได้ จากการที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้มีการลงนามกับโรงพยาบาลอภัยภูเบศ โดยมียอดการสั่งซื้อสมุนไพรเ...