RMUTL
RMUTL

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชผักปลอดสารพิษสำหรับเมืองและชุมชนสู่ความยั่งยืนบนพื้นฐานเชียงรายเมืองเกษตรสีเขียวและอาหารปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุในภาคเหนือ

ชุมชนบ้านหัวฝาย ต.สันกลาง อ.พาน จ.เชียงราย รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลโครงการเบื้องต้น

พื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย ชุมชนต้นแบบ ได้แก่ ชุมชนบ้านหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในกิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตพืชผักปลอดสารพิษสำหรับเมืองและชุมชนสู่ความยั่งยืนบนพื้นฐานเชียงรายเมืองเกษตรสีเขียวและอาหารปลอดภัย เป็นการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัยในวิถีเศรษฐกิจพอเพียง สร้างศูนย์การเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์โดยใช้เทคโนโลยีไมโครนาโนบับเบิ้ลสำหรับผู้สูงอายุ และเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งมีกำลังการผลิตผักไฮโดรโปนิกส์ไม่ต่ำกว่า 1,200 ต้น/เดือน โดยมีฐานการเรียนรู้ทั้งหมดจำนวน 6 ฐาน โดยแต่ละฐานมีการออกแบบให้เข้ากับสรีระของผู้สูงอายุโดยกำหนดความสูงให้พอเหมาะกับสรีระของผู้สูงอายุ รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยผู้สูงอายุได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติตั้งแต่กระบวนการเพาะเมล็ด การอนุบาลต้นกล้า การย้ายต้นกล้า การผสมปุ๋ย การดูแลผัก การเก็บเกี่ยวผลผลิต การล้างและบรรจุผัก การพัฒนาช่องทางการตลาด ในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย หลักสูตรการตลาดสมัยใหม่และการตลาดออนไลน์ ด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการในการสร้าง content และการทดลองและเลือกใช้สื่อ social media ที่เหมาะสมเพื่อเป็นการขยายช่องการจัดจำหน่ายผ่านทางออนไลน์ การออกแบบตราสินค้าและจัดทำบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ และการจัดทำ Business Model ของผลิตภัณฑ์ผักอิ่มบุญ นอกจากนี้ผู้สูงอายุได้มีการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงานและพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มและมีการทำงานร่วมอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นนำมาซึ่งความมั่นใจ ความภูมิใจ และการเห็นคุณค่าตนเองที่สามารถทำงานสร้างรายได้ ลดการพึ่งพาลูกหลาน

ระดับประเมินศักยภาพในการพัฒนาชุมชน : สูง (PLATINUM)
ผลการประเมินพื้นที่ชุมชนต้นแบบ
เกณฑ์การประเมินที่ตั้งของหมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ในกลุ่มพื้นที่เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัย
หมู่บ้าน/ชุมชนที่สอดคล้องกับเงื่อนไขการส่งเสริมพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP)
หมู่บ้าน/ชุมชนที่มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ไปประยุกต์ใช้จนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
หมู่บ้าน/ชุมชนมีความพร้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มิติความพร้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แผนการยกระดับชุมชน
ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (BioEconomy)
  • SDG1 SDG2 SDG4 SDG8 SDG9 SDG12 SDG13
เศรษฐกิจหมุนเวียน(CircularEconomy)
  • SDG1 SDG2 SDG4 SDG8 SDG9 SDG12 SDG1
เศรษฐกิจสีเขียว(GreenEconomy)
  • SDG1 SDG2 SDG4 SDG8 SDG9 SDG12 SDG1
การรายงานผลการดำเนินงานในแต่กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การสร้างศูนย์การเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์โดยใช้เทคโนโลยีไมโครนาโนบับเบิ้ล สำหรับผู้สูงอายุ100%
100%
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์โดยใช้เทคโนโลยีไมโครนาโนบับเบิ้ล100%
100%
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาช่องทางการตลาด100%
100%
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการการอบรมเชิงปฏิบัติการ เตรียมความพร้อมในการสร้างศูนย์การเรียนเกษตรปลอดภัยภายใต้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง100%
100%
กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาช่องทางการตลาด100%
100%
การรายงานผลการยกระดับพื้นที่
ชุมชนเกิดองค์ความรู้ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรบนหลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการใช้เทคโนโลยีในการเพ...