โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart famer) จ.สมุทรสงคราม

ชุมชนต้นแบบด้านเกษตรกรรุ่นใหม่ จ.สมุทรสงคราม
ภาพรวม
รายรับ-รายจ่ายของชุมชน
ผลการดำเนินโครงการ
รายชื่อผู้ดำเนินกิจกรรม
ช่องทางการติดต่อ
ข้อมูลโครงการเบื้องต้น

การพัฒนาชุมชนต้นแบบฯ ระยะที่ 2 กิจกรรมของทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลธัญบุรี ได้ทำกการต่อยอดผลการดำเนินงานในระยะที่ 1 ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง สอดแทรกเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) เพื่อช่วยสร้างความดึงดูดใจ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง รวมถึงจัดพิมพ์เป็นป้ายแสดงข้อมูลการท่องเที่ยว รวมถึงจัดพิมพ์ในบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ผลไม้ และบรรจุภัณฑ์สบู่ อันจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เกิดความต้องการเดินทางท่องเที่ยวหรือต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ อื่น ๆ ของกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ ผลงานความภาคภูมิใจจากผลการดำเนินงานกิจกรรมระยะที่ 1 ที่มีการขยายผลการพัฒนากลุ่มเครือข่าย Young Smart Farmer จังหวัดสมุทรสงครามไปสู่ระดับประเทศ ได้แก่ คุณสมควร รอดทัศนา ได้รับการคัดเลือกระดับประเทศ ซึ่งเป็น 1 ในจำนวน 30 คน โครงการคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด "ผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agri-Entrepreneur)" โดย มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด กรมส่งเสริมการเกษตร และบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดังรูปที่ 2  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดสมุทรสงคราม

จากผลความสำเร็จดังกล่าว ทำให้คณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะต่อยอดการพัฒนาชุมชนต้นแบบฯ ระยะที่ 2 ในกิจกรรมการพัฒนาต้นแบบกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสมุทรสงคราม ให้มีศักยภาพการทำงานมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้มีทักษะและความรู้ที่จำเป็น เช่น ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะด้านภาษาจีนให้สามาถค้าขายและสื่อสารกับนักท่องเที่ยวที่มีกลุ่มลูกต่างชาติเพิ่มมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์การเกษตรสู่ตลาดสากลได้ ดังนั้น การพัฒนาชุมชนต้นแบบฯ ระยะที่ 2 จึงมีเป้าหมายเพื่อต่อยอดผลการดำเนินงานในระยะที่ 1 ในด้านต่าง ๆ ดังกล่าว โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ ผ่าน 4 กิจกรรม ดังนี้

  1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ภายใต้โครงการสัมมนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีใหม่
  2. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ภายใต้โครงการอบรม Innovative Startup Go Inter
  3. กิจกรรมต่อยอดผลิตภัณฑ์การเกษตรสู่ตลาดสากล จากแนวคิดของแนวคิดของ Innovative Startup Go Inter Model
  4. กิจกรรมการขยายผลการพัฒนาต้นแบบกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกัน และสร้างความมั่นคงแก่เกษตรกร ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกลุ่มเกษตรกร เครือข่ายเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและพึ่งพาตนเองได้

 

ตอบโจทย์ 2 จาก 4 มิติการพัฒนาประเทศ
มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย
1
2
มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม
มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3
4
มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ
หลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
พอประมาณ
มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
เงื่อนไขความรู้
เงื่อนไขคุณธรรม
รูปภาพโครงการ
BCG Economy Model
40%
60%
20%
7/17
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
3/13
หมุดหมายการพัฒนา
กิจกรรมการพัฒนา
1
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ภายใต้โครงการสัมมนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีใหม่
100%
100%
2
1. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ภายใต้โครงการสัมมมนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีใหม่
100%
100%
3
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ภายใต้โครงการอบรม Innovative Startup Go Inter
50%
50%
4
กิจกรรมต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สู่ตลาดสากล จากแนวคิดของ Innovative Startup Go Inter Model
30%
30%
5
กิจกรรมการขยายผลการพัฒนาต้นแบบกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่ง...
100%
100%