โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ และการแปรรูปสมุนไพรอินทรีย์ จ.จันทบุรี

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
ภาพรวม
รายรับ-รายจ่ายของชุมชน
ผลการดำเนินโครงการ
รายชื่อผู้ดำเนินกิจกรรม
ช่องทางการติดต่อ
ข้อมูลโครงการเบื้องต้น

การยกระดับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบสมุนไพรอินทรีย์ อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ด้วยการขับเคลื่อนตามหลักการโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่จังหวัดจันทบุรี

ผลจากการดำเนินงานในระยะที่ 1 ก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนต้นแบบในพื้นที่วิสาหกิจชุมชนอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี โดยมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วม ได้แก่ พัฒนาชุมชน อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดจันทบุรี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดจันทบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวงกต อ.แก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และนายอำเภอแก่งหางแมว อ.แก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี โดยเป็นการต่อยอดในระยะที่ 1 ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักในโรงเรือนด้วยแสงประดิษฐ์ ระบบควบคุมปั๊มน้ำด้วย IoT ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์  ระบบวัดและควบคุมอุณหภูมิโรงตากสมุนไพรพลังงานแสงอาทิตย์ และต่อยอดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สมุนไพรอินทรีย์ (น้ำมันเขียว) โดยการนำรูปแบบผลสำเร็จจากระยะที่ 1 มา SWOT เพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อนของรูปแบบที่ดำเนินการในระยะที่ 1 นำมาปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีเพิ่มมากขึ้น

ในระยะที่ 2 เป็นพัฒนารูปแบบโรงเรือนผลิตปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุทางการเกษตร การพัฒนานวัตกรรมที่สามารถช่วยลดระยะเวลาในการบริหารจัดการสำหรับกระบวนการผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการเพิ่มคุณภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวคิด BCG การพัฒนาระบบตรวจวัดและจัดการพลังงานสำหรับกระบวนการผลิตทางการเกษตร และการสร้างวิทยากรต้นแบบจากสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พร้อมกับการสร้างสื่อการเรียนรู้สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนอื่น ๆ  

ตอบโจทย์ 4 จาก 4 มิติการพัฒนาประเทศ
มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย
1
2
มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม
มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3
4
มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ
หลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
พอประมาณ
มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
เงื่อนไขความรู้
เงื่อนไขคุณธรรม
รูปภาพโครงการ
BCG Economy Model
100%
0%
25%
4/17
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
4/13
หมุดหมายการพัฒนา
กิจกรรมการพัฒนา
1
กิจกรรมการลงพื้นที่สำรวจและสัมภาษณ์เชิงลึกสู่การวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรอินทร...
100%
100%
2
กิจกรรมการบูรณาการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
100%
100%
3
กิจกรรมการฝึกอบรมให้กับชุมชนของวิสาหกิจสมุนไพรอินทรีย์ และภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาต่อยอดการประยุก...
100%
100%
4
กิจกรรมสร้างวิทยากรชุมชนต้นแบบที่มีความสามารถในการถ่ายทอดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนกระบวนก...
100%
100%